สะบ้าเคลื่อนในสุนัข รักษาอย่างไร กินยาหรือต้องผ่าตัด

เจ้าของน้องหมาหลายๆคงเคยได้ยินหรือรู้จักโรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข ซึ่งถือว่าโรคยอดฮิตของน้องหมาพันธ์เล็กเลยค่ะ โรคนี้บางตัวเป็นแล้วไม่แสดงอาการ บางตัวเป็นแล้วเจ็บขาหรือขากระเผลกอย่างชัดเจน แล้วเราในฐานะเจ้าของน้องหมาจะรู้ได้อย่างไรว่าสุนัขของเราจะเป็นโรคนี้หรือไม่ การเลี้ยงในคอกสุนัขช่วยได้หรือไม่ และจะรักษาต่อไปอย่างไร

โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข เป็นความผิดปกติของตำแหน่งลูกสะบ้าที่หัวเข่าของสุนัข ซึ่งโดยปกติลูกสะบ้านี้จะต้องวางตัวอยู่ในร่องของกระดูกหัวเข่าและไม่หลุดออกนอกร่องขณะเคลื่อนไหว แต่ในตัวที่เป็นโรคนี้ลูกสะบ้าจะเคลื่อนไปอยู่ผิดตำแหน่งไม่ว่าจะเคลื่อนเข้าด้านในหรือเคลื่อนออกด้านนอกของร่อง และจะเคลื่อนเฉพาะเวลาสุนัขเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวก็ได้



โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัขมีสาเหตุมากมายทั้งจากพันธุกรรมและจากสภาพสิ่งแวดล้อม พฤติกรรม การเลี้ยงดูของเจ้าของ ดังนั้นโรคนี้สามารถเกิดได้ตั้งแต่สุนัขอายุน้อยๆจนถึงแก่ได้เลย โดยในกลุ่มพันธุกรรมจะเริ่มตรวจพบได้ที่ประมาณอายุ6เดือนโดยที่ไม่มีอาการขาเจ็บหรือกระเผลกใดๆ เจ้าของจึงควรพาน้องหมาไปตรวจสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ ส่วนในกลุ่มอายุอื่นๆ ความรุนแรงจะขึ้นกับสาเหตุที่เป็น เช่นการกระทบกระแทกอย่างรุนแรง อุบัติเหตุตกจากที่สูง การกัดกัน การเลี้ยงในสภาพพื้นที่ลื่น การกระโดดขึ้นลงบันไดบ่อยๆ สุนัขอ้วน ความเสื่อมตามอายุ เป็นต้น

การรักษาโรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัขมีหลาหลายวิธีทั้งการรักษาทางยา การฝังเข็ม และการผ่าตัด แน่นอนว่าเจ้าของน้องหมาททุกๆคนไม่อยากให้น้องหมาต้องผ่าตัดเนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่าง อาทิเช่น ความเสี่ยงในการวางยาสลบ ความเจ็บปวดหลังผ่าตัด การดูแลหลังการผ่าตัดที่จำเป็นต้องกักบริเวณในคอกสุนัข รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่ทั้งนี้แนวทางการัักษาจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรคสะบ้าเคลื่อนที่ตรวจพบ

อย่างไรก็ตามเจ้าของทุกคนไม่อยากให้น้องหมาที่บ้านต้องประสบปัญหาข้อสะบ้าเคลื่อน ทางหนึ่งที่เราสามารถช่วยป้องกันและชะลอการความรุนแรงของโรคได้คือการดูแลเรื่องสภาพความเป็นอยู่ของน้องหมา การไถขนบริเวณฝ่าเท้าน้องหมาให้สั้น การเลือกพื้นที่อยู่ให้ไม่ลื่นเพื่อไม่ให้เกิดความลำบากในการลุกนั่งเดินจนทำให้ขาแบะและข้อเสื่อมง่าย การเลือกจำกัดบริเวณสุนัขในคอกสุนัขเพื่อลดการกระโดดขึ้นลงวิ่งเล่นอย่างรุนแรงที่มีโอาการโน้มนำให้หัวกระดูกเสียดสีเป็นแผลและเกิดอุบัติเหตุกระทบกระแทก  การควบคุมน้ำหนักเพื่อไม่ให้ข้อรับน้ำหนักมากเกินไป เป็นต้น และควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อประเมิณความรุนแรงเป็นระยะๆด้วยวิธีการคลำตรวจหรือเอ๊กซเรย์

#คอกสุนัข

อ่านบทความดีๆต่อเพิ่มเติมต่อได้ที่ >>https://goo.gl/99Uyao
http://fbl.me/doggietipsandtricks
https://line.me/R/ti/p/%40mus8861j

https://kennelcomfort.blogspot.com/
https://goo.gl/F32qWW

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีทำคอกไม้ราคาถูก บ้านไม้ทำเอง ให้น้องหมา

ทำหมันน้องหมา อันตรายหรือน่ากลัวจริงมั้ย??